ประเมินความเสี่ยงในการหกล้มในผู้สูงอายุ

เมื่ออายุมากขึ้นเกิดการพลัดตกหกล้มได้ง่ายขึ้น ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีจะมีความรุนแรงและอันตรายจากการล้มจะมากกว่าช่วงอายุอื่น ๆ เนื่องจากมวลกระดูกลดลง กระดูกร้าวและหักได้ การประเมินความเสี่ยงของตนเองเพื่อเตรียมตัวฝึกล้มและลุกจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น

– ประเมินความเสี่ยงล้ม
– อายุเท่าไร ยิ่งอายุมากยิ่งเสี่ยงมาก
– เคยหกล้มหรือบาดเจ็บในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาหรือไม่ หากเคยล้มอาจจะมีโอกาสล้มซ้ำ
– รู้สึกว่าแขนขาไม่ค่อยมีแรงหรือไม่ เพราะอาจไม่สามารถจับยึดหรือพยุงตัวเองได้
– มีปัญหากลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือไม่ เพราะการรีบไปเข้าห้องน้ำส่งผลให้ล้มได้
– มีปัญหาการมองเห็นและ กะระยะหรือไม่ อาจทำให้สะดุดหกล้มหรือตกบันไดได้
– กลัวการหกล้มหรือไม่ เพราะจะไม่กล้าออกกำลังกายและทำกิจวัตรต่าง ๆ ทำให้กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง
– มีโรคประจำตัวหรือไม่ เช่น โรคความดันโลหิตสูง อาจทำให้หน้ามืดแล้วล้มได้ โรคเบาหวาน อาจทำให้ มีแผลที่เท้าส่งผลให้เดินช้า เดินลำบาก เพิ่มความเสี่ยงในการล้ม เป็นต้น
– ซ้อมล้มฝึกลุกให้เคยชิน

การให้ผู้สูงอายุซ้อมล้มและฝึกลุกเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่ควรละเลย เพราะหากผู้สูงอายุได้รับการฝึกอยู่เป็นประจำจะช่วยลดความรุนแรงของการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ไม่คาดคิด และสามารถช่วยเหลือตนเองในเบื้องต้นได้ในกรณีที่การบาดเจ็บไม่มาก แต่หากประเมินแล้วว่าบาดเจ็บหนัก มีการหักของกระดูกให้ขอความช่วยเหลือหรือเรียกคนใกล้ชิด

 

ซ้อมล้ม

การซ้อมล้มให้หาเบาะออกกำลังกายที่รองรับน้ำหนักผู้สูงวัยได้ทั้งตัวมาให้ผู้สูงวัยได้ฝึกซ้อม

Cr.www.bangkokhospital.com

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม
ติดต่อ Line Official: @thesenseliving
Tel: 082-263-2665